วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

แตงโม : แก้กระหายน้ำ


ส่วนประกอบของแตงโม
น้ำ                    95.7%
โปรตีน             0.1%
ไขมัน               0.2% 
คาร์โบไฮเดรต  3.8%
แคลเซียม         0.1%
ฟอสฟอรัส        0.01%
ธาตุเหล็ก         0.2 มิลลิกรัม     100 กรัม
ไนอาซิน           0.2 มิลลิกรัม     100 กรัม
วิตามินบี 1        2.0 ไมโครกรัม 100 กรัม
วินตามินอี        1 มิลลิกรัม        100 กรัม

คุณสมบัติ ในทางอายุรเวท แตงโมมีฤทธิ์เย็น เป็นยาขับปัสสาวะ ให้พลังงานและรสชาติอร่อย บรรเทาอาการหิวกระหายน้ำ ให้สารอาหารและช่วยหล่อลื่น

การใช้ประโยชน์ รับประทานเนื้อแตงโมได้เลย หรือนำมาคั้นเอาน้ำแตงโมดื่มก็ได้

คุณประโยชน์ น้ำแตงโมบรรเทาอาการปวดในช่องท้อง และอาการปวดแสบกระเพาะอาหาร เป็นยาขับปัสสาวะ มีประโยชน์ต่อการรักษาไตและความผิดปกติของกระเพาะปัสสาวะ แตงโมให้ความเย็นต่อร่างกายและจิตใจ นอกจากนี้ยังกระตุ้นกระบวนการฟื้นฟูร่างกาย

การเลือกปลาสด


แบ่งเป็น3ประเภทใหญ่ๆได้ดังนี้ 

1.ปลาที่มีเกล็ด ให้ดูจากตาของปลา จะต้องใสวาว เหงือแดง เกล็ดติดแน่นกับลำตัว ไม่มีกลิ่นเหม็นคาวผิดปกติ

2.ปลาที่ไม่มีเกล็ดหุ้ม ควรเลือกปลาที่ไม่เมือกบริเวณผิวหนังมากเกินไป กดเนื้อแล้วไม่บุ๋ม ตาใสและเหงือกแดงเช่นกัน 

3.ปลาแดดเดียวหรือปลาตากแห้ง ให้ดูลักษณะปลาว่าไม่แห้งจนเกินไป ตัวอวบ ไม่มีกลิ่นเหม็นผิดปกติ การเลือกปลาสด

วันศุกร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

10 วิธีการอนุรักษ์ธรรมชาติ



1. รักษารถยนต์ ด้วยการเปลี่ยนไส้กรอง ไส้กรองอากาศที่สกปรกจะทำให้การไหลของอากาศที่สะอาดทำได้น้อยลง มีผลต่อการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ด้วย

2. ควรใช้ผ้าแทนการใช้กระดาษชำระ


3. ใช้ถุงผ้าแทนการใช้ถุงพลาสติก


4. ทิ้งขยะเป็นที่เป็นทาง ควรทิ้งขยะให้ลงถังขยะ


5. ช่วยกันปลูกต้นไม้ เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้มากขึ้น


6. ไม่บุกรุกพื้นที่ป่า


7. ไม่เปิดน้ำ และไฟฟ้าทิ้งไว้โดยไร้ประโยชน์


8. ไม่ทิ้งน้ำเสียลงแม่น้ำลำคลอง


9. ควรทานอาหารให้หมดจาน


10.ไม่ควรเผาขยะหรือเศษไม้ เศษหญ้า

วันพุธที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ประโยชน์ของต้นไม้


1. ต้นไม้จะช่วยคายออกซิเจนในช่วงกลางวัน ทำให้เราได้อากาศบริสุทธิ์ ซึ่งการได้สูดอากาศบริสุทธิ์ มีผลต่อสุขภาพของเรา

2. ช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นตัวการให้เกิดภาวะเรือนกะจกทำให้เกิดภาวะโลกร้อน

3. เป็นร่มเงา บังแสงแดด ให้เกิดความร่มรื่น

4. เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า

5. พืช ผล สามารถนำมารับประทานเป็นอาหาร หรือ ยารักษาโรคได้

6. เป็นแหล่งต้นน้ำ ลำธาร เนื่องจากที่บริเวณราก ที่ดูดซับน้ำ และ แร่ธาตุ เป็นการกักเก็บน้ำไว้บริเวณผิวดิน

7. บริเวณรากของต้นไม้ ที่ยึดผิวดิน ทำให้เกิดความแข็งแรงของบริเวณผิวดินป้องกัน การพังทลายจากดินถล่ม เนื่องจากมีรากเป็นส่วนยึดผิวดินอยู่

8. เป็นแนวป้องกัน การเกิดน้ำท่วม เนื่องจาก เมื่อเกิดสภาพที่น้ำเกินสมดุล ท่วมลงมาจากยอดเขา จะมีแนวป่า ต้นไม้ ช่วยชะลอความแรง จากเหตุการณ์น้ำท่วม

9. ลำต้น สามารถนำมาแปรรูปทำประโยชน์ต่างๆ เช่น บ้านเรือนที่พักอาศัย สะพาน เฟอร์นิเจอร์ เรือ

10. ต้นไม้ เป็นแหล่งอาหารที่สำคัญต่อบรรดาสัตว์ป่า เป็นส่วนนึงในระบบนิเวศวิทยา

วันอาทิตย์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

พลังงานแสงอาทิตย์


           พลังงานแสงอาทิตย์ คือ แสงสว่าง และความร้อน ที่ถูกสร้างขึ้นโดยดวงอาทิตย์ทุกๆวัน ดวงอาทิตย์จะผลิตพลังงานได้เป็นจำนวนมาศาล รวมทั้งแหล่งผลิตพลังงานแสงอาทิตย์นั้น ไม่มีวันหมดอีกด้วย นอกจากนี้ พลังงานแสงอาทิตย์ยังถือเป็นพลังงานสะอาด และเป็นพลังงานทางเลือกสำหรับมนุษย์ใช้แทนที่พลังงานจากฟอสซิลอีกด้วย 

          วิธีการง่ายๆที่นิยมใช้ คือ ใช้ระบบที่อยู่ในรูปแบบแผงเซลล์แสงอาทิตย์ และแบตเตอรี่เก็บพลังงาน แผงเซลล์แสงอาทิตย์จะเก็บแสงจากดวงอาทิตย์ เพื่อแปรสภาพเป็นพลังงาน และเก็บไว้ในแบตเตอรรี่ ในขณะที่พลังงานดังกล่าว ถูกเก็บไว้ในแบตเตอรรี่ พลังงานนี้ก็จะถูกใช้งานได้ในรูปแบบของความร้อนและพลังงานไฟฟ้า 

           เมื่อพลังงานถูกแปรสภาพเป้นพลังงานความร้อนพลังงานแสงอาทิตย์สามารถนำไปใช้งานได้ดังนี้
*ทำน้ำร้อน สำหรับห้องอาบน้ำที่บ้าน หรือ สำหรับสระว่ายน้ำ
*ใช้สำหรับห้องปรับอุณหภูมิ ภายในบ้าน เรือนต้นไม้ หรือ อาคารพาณิชย์ต่างๆ

ถั่วงอกดิบมีโทษ


           


            ในผักสดบางชนิดมีสารพิษที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น ในถั่วงอก มีสารพิษพวกที่เรียกว่าไฟเตต ซึ่งเมื่อกินเข้าไปจะ ไปจับแร่ธาตุบางชนิดที่อยู่ในอาหาร ทำให้ร่างกายไม่สามารถดูดซึมแร่ธาตุเหล่านั้นเข้าร่างกาย ร่างกายจะเป็นโรคขาดแร่ธาตุ สารพิษเหล่านี้สามารถทำลายได้โดยการต้ม จึงควรรับประทานถั่วงอกสุขดีกว่าถั่วงอกดิบ